" การรักษารอยแผลเป็น'หลุมสิว' เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ทางการแพทย์ เป็นหนึ่งในการรักษาที่หมอมีความถนัดชำนาญ และชอบเป็นการส่วนตัวค่ะ เนื่องจากหมอก็เป็นคนที่มีปัญหาหลุมสิวด้วยเหมือนกัน หมอจึงศึกษาและติดตามอัพเดทการรักษาหลุมสิวมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเรียนแพทย์ทั่วไป เรียนแพทย์ต่อยอดด้านผิวหนัง มาจนถึงปัจจุบัน
โดยเทคนิคเฉพาะตัวที่หมอถนัดและเชี่ยวชาญและเชื่อมั่นในผลลัพธ์ที่สุด จะเป็นกลุ่มการรักษาด้วยหัตถการเน้นมือแพทย์เป็นหลัก (Non-Energy Based Scar Revision) และใช้เลเซอร์เป็นเพียงส่วนเสริมเก็บรายละเอียดเท่านั้น เลเซอร์ที่หมอมั่นใจในผลลัพธ์ที่สุด เหมาะกับผิวเอเชียที่สุด เลเซอร์ที่หมอไว้วางใจเลือกใช้คือ MCL Dermablate Laser
สารบัญหลุมสิว
ผลลัพธ์ที่ได้ หลังทำเพียงครั้งเดียว
* ทุกรีวิวของคุณหมอได้รับการยินยอมจากคนไข้ให้นำมาเผยแพร่
* ทุกรีวิวเป็นคนไข้ทางคลินิก ภาพรีวิวไม่มีการ ตัดต่อ หรือ รีทัชใดๆ
* *ผลจากการรักษาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
* เคสรีวิวจริง จากคนไข้จริง ได้รับอนุญาตจากคนไข้แล้วจึงนำมาให้ชมกันค่ะ
* ทุกรีวิวเป็นคนไข้คุณหมอจริง * ผลลัพธ์ที่ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละบุคคล
จุดเด่นที่เหนือกว่าวิธีอื่น
คุณหมอจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ลักษณะของใบหน้าโดยรวม และปัญหาหลุมสิวที่คนไข้เป็นอย่างละเอียด ตามด้วยระบุประเภทหลุมสิวแต่ละจุด ทีละจุดบนใบหน้า ประเมินลักษณะผังผืด และประเมินสภาพพื้นฐานผิวของคนไข้ได้อย่างถี่ถ้วน ถือเป็นจุดเริ่มต้นวางแผนการรักษาที่สำคัญมาก
*หัตถการหลักเทคนิคเฉพาะของ Dr.Ramita ที่ผสมผสานหลายวิธีการรักษาหลุมสิว ที่เป็นมาตรฐานสากล มีงานวิจัยรองรับ ได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์ทั่วโลกว่าช่วยแก้ไขปัญหาหลุมสิวให้ตื้นขึ้นได้จริง รวมไว้ในโปรแกรมเดียว (หัตถการที่จะใช้ขึ้นอยู่กับปัญหาและสภาพผิวของแต่ละบุคคล)
คุณหมอขอยกตัวอย่างหัตถการที่จะใช้(บางส่วน) มาอธิบายให้อ่านกันค่ะ
* หัตถการเสริมเทคนิคพิเศษเกาหลี คือการฉีดก๊าซเข้าไปตัดพังผืดและทำให้เกิดโพรงอากาศ ไปกระตุ้นเนื้อเยื่อคอลลาเจนใต้ผิว ทำให้เกิด Skin Regeneration ฟื้นฟูหลุมสิวด้วยเนื้อเยื่อด้วยตัวเอง และฉีดสารตัวยาสำคัญเข้าไปแทนที่ ซึ่งเป็นเทคนิควิธีเดียวกันกับที่เกาหลี เพื่อเสริมประสิทธิภาพการรักษาให้เห็นผลเร็วยิ่งขึ้น
รักษาอะไรได้บ้าง
เหมาะกับใคร?
ข้อจำกัดการรักษา
ข้อควรระวังหลังการรักษา
Q : Real Acne Scar Synergy แตกต่างจากการรักษาหลุมสิวที่เกาหลีอย่างไร?
A : การรักษาหลุมสิวส่วนใหญ่ที่เกาหลี มักจะเน้นไปที่การฉีดมากกว่าการทำเลเซอร์ โดยเทคนิคเฉพาะที่มีการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกรดไฮยาลูโรนิคอนุภาคเล็กเข้าไปทำให้เกิดการฟื้นฟูผิวด้วยตัวเองนั้น มีข้อดีตรงที่เห็นผลชัดตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ และผลลัพธ์คงอยู่ได้ยาวนานกว่าการฉีดฟิลเลอร์ โดยคนไข้ส่วนใหญ่จะนิยมทำแค่เฉพาะบางจุดที่เด่นชัดจริงๆเท่านั้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ค่อนข้างสูงมาก และวิธีนี้มีข้อจำกัดในการรักษาหลุมสิวแบบ deep icepick และ deep boxcar scar
โปรแกรม Real Acne Scar Synergy ก็มีการรักษาด้วยเทคนิคเดียวกันกับที่เกาหลีนี้รวมอยู่ในหัตถการหลักด้วย แต่จะแตกต่างตรงตัวยาที่ฉีดเข้าไป (ของทางเกาหลี จะมีเฉพาะกรดไฮยาลูโรนิคอย่างเดียว หรือบางคลินิกจะเป็นสาร PDRN เท่านั้น) สูตรตัวยาแบบเฉพาะของหมอที่ฉีดเข้าไปแล้วทำให้เกิด Skin Regeneration ร่วมกับการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น เป็นการรวบรวมตัวยาที่มีงานวิจัยรับรองแล้วว่ากระตุ้นและเพิ่มคอลลาเจนใต้ผิวได้จริง ได้แก่ ไฮยาลูโรนิคแอซิด โพลีนิวคลิโอไทด์ เอกซ์โซโซม โกรทแฟคเตอร์และวิตามินสารอาหารผิวต่างๆ ที่ช่วยบำรุงผิว และปรับสูตรให้เหมาะกับสภาพผิวของคนไข้แต่ละคนมากที่สุดด้วย
อีกทั้งยังมีการทำหัตถการแพทย์มาตรฐานอื่นๆควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดพังผืด Surgical Subcision ด้วยเครื่องมือพิเศษเฉพาะแต่ละหลุม, Chemical Reconstruction TCA CROSS/PAINT/dot peel, Collagen Induction Therapy เพื่อให้ครอบคลุมปัญหาหลุมสิวที่คนไข้เป็นได้มากที่สุดค่ะ
Q : Real Acne Scar Synergy แตกต่างจากคอร์สเลเซอร์อย่างไร
A : Real Scar Synergy เป็นการดูแลรักษาหลุมสิวแบบองค์รวม โดยใช้หัตถการฝีมือแพทย์เป็นหลัก หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่ากลุ่มการรักษาแบบ Non-Energy Based Acne Scar Revision
Q : Real Acne Scar Synergy แตกต่างจากการผ่าตัดเย็บหลุมสิวอย่างไร
A : เนื่องจากการผ่าตัดเย็บหลุมสิวนี้ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของแผลจิกลึกขอบหนา ให้กลายเป็นแผลเป็นรูปแบบเส้นแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเย็บหลุมสิวจะต้องดูแลรอยแผลอย่างเคร่งครัด ห้ามแผลโดนน้ำและต้องกลับมาตัดไหมที่ 5-7 วัน หลังจากนั้นต้องมีการทำเลเซอร์เพื่อลบรอยแผลใหม่ต่ออีกด้วย จึงเหมาะกับผู้ที่สามารถดูแลรักษาแผลหลังผ่าตัดได้อย่างเคร่งครัด และสามารถเข้ารับการดูแลต่อเนื่องหลังผ่าตัดได้จริงๆ
ในกลุ่มของการรักษาหลุมสิวด้วยการผ่าตัดนี้ จะมีเทคนิคมาตรฐานอื่นๆอีก เช่น Punch grafting,Punch elevation ซึ่งในขณะนี้ จะยังไม่ได้มีการรักษาด้วยเทคนิคนี้ในโปรแกรมของทางคลินิกค่ะ
Q : ขั้นตอนการทำ เป็นอย่างไร ?
A : ขั้นตอนการทำ " ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจแพทย์และสภาพผิวของแต่ละบุคคล "
เนื่องจากแต่ละบุคคลมีพื้นฐานปัญหาผิวและข้อจำกัดไม่เหมือนกัน คุณหมอจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ลักษณะของใบหน้าโดยรวม และปัญหาหลุมสิวที่คนไข้เป็นอย่างละเอียดก่อน ตามด้วยระบุประเภทหลุมสิวแต่ละจุดบนใบหน้าอย่างละเอียด ประเมินลักษณะผังผืด และประเมินสภาพพื้นฐานผิวของคนไข้ได้อย่างถี่ถ้วน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นวางแผนการรักษาที่สำคัญมาก เมื่อประเมินลักษณะปัญหาหลุมสิวของคนไข้ได้อย่างละเอียดดีแล้ว จึงค่อยวางแผนเลือกใช้วิธีการรักษาให้เหมาะสมกับคนไข้เฉพาะบุคคล เพราะแต่ละคนมีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน เช่น บางต้องใช้ใบหน้าทำงานตลอด พักหน้าไม่ได้ ตกสะเก็ดไม่ได้ หมอจึงต้องคอยปรับแต่งแผนการรักษาโดยตลอดให้เหมาะกับแต่ละคน
Q : หัตถการที่แพทย์ทำ ต่อ 1 เคสทำอะไรบ้าง
A : หมอจะใช้หลายๆหัตถการร่วมกัน ในการรักษาครั้งเดียวเลยค่ะ ด้วยปัญหาของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน หัตถการที่ใช้และตัวยาก็จะแตกต่างกันออกไป
โดยหัตถการหลักที่ทำให้ทุกเคส เพื่อการฟื้นฟูหลุมสิวด้วยเนื้อเยื่อตัวเอง ด้วยเทคนิคจากเกาหลี คือ การฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปตัดพังผืดและสร้างโพรงอากาศ แล้วฉีดสารฟื้นฟูเนื้อหลุมสิว Skin Regeneration Agents เช่น กรดไฮยาลูโรนิคอนุภาคเล็ก โกรธแฟคเตอร์ โพลีนิวคลีโอไทด์ เข้าไป
หมอขอยกตัวอย่างหัตถการที่แพทย์จะเลือกใช้ให้ดูนะคะ ซึ่งแต่ละหัตถการก็มีหลายเครื่องมือ หลายตัวยาให้เลือกใช้แยกออกไปอีก " ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจแพทย์และสภาพผิวของแต่ละบุคคล "
Q : เห็นผลดีแค่ไหน ? ต้องรักษากี่ครั้ง ?
A : ก่อนอื่นจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หลุมสิวคือแผลเป็นชนิดหนึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่จะทำให้หายเรียบเนียนกริบ เสมือนผิวปกติที่ไม่เคยมีแผลเป็นมาก่อนได้เลย 100% ผลลัพธ์การรักษาด้วยโปรแกรมนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของหลุมสิวที่เป็น สภาพพื้นฐานผิว กรรมพันธุ์ อายุ และข้อจำกัดของคนไข้เอง โดยทั่วไปในหลุมสิวแบบ Rolling scar ที่ปากแผลกว้าง ขอบไม่ชัดมีพังผืดเกาะไม่ลึกและไม่หนามาก ในบางรายหมออาจรักษาให้ดีขึ้นได้ถึง 60-70% ได้ในการทำหัตถการเพียงครั้งเดียว แต่ในกรณีที่หลุมสิวรุนแรงกว่า เป็นลักษณะจิกลึก ขอบคมชัด มีพังผืดที่หนาและแข็งมากดึงรั้งกับไขมันกล้ามเนื้อชั้นลึกเยอะ อาจรักษาได้ยากขึ้น แบบนี้อาจต้องรักษามากกว่า 2-3 ครั้งเพื่อให้ผลที่ดีขึ้น 40-50%
Q : ราคาเท่าไร ?
A : เริ่มต้นที่ 39,900 บาท (ที่ไม่สามารถระบุราคาได้เลย เพราะแต่ละคนปัญหาหนักเบาไม่เท่ากันค่ะ แนะนำคนคนไข้ส่งรูปปัญหา เพื่อให้คุณหมอประเมินราคาเบื้องต้นก่อนเข้ามาค่ะ)
Q : ผลข้างเคียง ความปลอดภัย?
A : เป็นหัตถการแพทย์ที่มีความปลอดภัยสูง อาจมีผลข้างเคียง บวม แดง ช้ำได้บ้าง ตามสภาพผิวของแต่ละบุคคลแต่ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นหน้า ไม่มีสะเก็ดตาราง ไม่เบิร์นผิวค่ะ
Q : มี อย. ไทยไหม ?
A : ผลิตภัณฑ์ตัวยา รวมถึง เครื่องมือแพทย์ทุกตัวที่ใช้ในการทำหัตถการ มี อย. ไทย ทุกตัวค่ะ
Q : ทำครั้งหนึ่งอยู่ได้นานแค่ไหน? ได้ผลถาวรไหม?
A : พื้นฐานของโปรแกรมการรักษานี้ จะทำให้เกิดการตัดพังผืดและมีการสร้างคอลลาเจนฟื้นฟูเนื้อเยื่อผิวขึ้นมาใหม่ หากมองแค่ในหลักการนี้ก็จะถือว่าเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ที่ถาวร ทำนองเดียวกันกับการทำเลเซอร์เพื่อกระตุ้นคอลลาเจนขึ้นมาเติมหลุมสิว นั่นเอง
แต่หากมองในแง่ของการมี Aging process เข้ามาเกี่ยวข้องตามธรรมชาติของมนุษย์ร่วมด้วยแล้ว คอลลาเจนที่ผิวสร้างขึ้นเองนี้ จะมีการลดลงครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่(half-life) ในทุกๆประมาณ 15 ปี ร่วมกับการสูญเสียปริมาตรของโครงสร้างที่พยุงใบหน้า ทั้งชั้นเนื้อเยื่อไขมัน และชั้นกระดูกเมื่อเวลาผ่านไป หากมองในแง่นี้ด้วยก็ควรจะถือว่าเป็นผลลัพธ์แบบกึ่งถาวร เพราะเมื่อทุกชั้นผิวหนังโดยรวมเกิดความเสื่อมสภาพลงตามวัย ผลลัพธ์ของการรักษาหลุมสิวจากคอลลาเจนที่เคยดีขึ้น ก็มักจะร่วงโรยตามวัยด้วยเช่นกัน
นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมคนที่มีหลุมสิวมาอย่างยาวนาน แต่ไม่เคยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเลย เมื่อมีอายุมากขึ้น หลุมสิวจึงเป็นมากขึ้นไปด้วย ทั้งๆที่ไม่ได้มีสิวใหม่เกิดขึ้นเลย แต่หลุมสิวที่มีอยู่กลับดูเป็นหนักขึ้น
นอกจากนี้ ในกรณีของหลุมสิวที่มีการยุบตัวฝ่อลงของเนื้อเยื่อชั้นไขมันร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นต้องฉีดสารเติมเต็มเข้าไปแทนที่ เมื่อเวลาผ่านไปสารเติมเต็มนี้จะถูกสลายไปได้ตามกาลเวลา แต่ในขณะเดียวกันการ Subcisionตัดพังผืดนี้ ร่วมกับอีกคุณสมบัติของสารเติมเต็มที่ช่วยกระตุ้นคอลลาเจนได้ด้วยเช่นกัน จะไปกระตุ้นให้ผิวหนังสร้างเส้นใยคอลลาเจนอิลาสตินขึ้นมาใหม่ ถือเป็นผลที่ได้อย่างถาวร(หรือกึ่งถาวร หากพิจารณาAging processด้วย)
อย่างไรก็ตาม คอลลาเจนที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับยีนและระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นตัวกำหนดการฟื้นฟูเนื้อเยื่อผิว การหายของแผลในแต่ละบุคคลด้วยค่ะ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการรักษาแผลเป็นหลุมสิวนั้น มีหลายวิธีด้วยกันโดยหมอจะขอแบ่งเป็นกลุ่มการรักษาเพื่อให้เข้าใจง่ายดังนี้
1.กลุ่ม Resurfacing เรียกง่ายๆก็คือการกรอผิวให้เนียนขึ้นนั่นเองในกลุ่มนี้ก็ได้แก่
การรักษาเหล่านี้มีหลักการเดียวกันคือทำให้เกิดบาดแผลขึ้นที่ผิวหนังแล้วหวังผลให้ผิวหนังซ่อมแซมตัวเองสร้างคอลลาเจนเนื้อเยื่อใหม่ได้ผิวที่เรียบเนียนขึ้น ในคนไข้บางรายที่ทำเลเซอร์จนครบคอร์สหลายครั้ง แต่ยังรู้สึกไม่เห็นผล อาจเกิดจากมีพังผืดยึดเกาะใต้ผิวมาก หรือบางครั้งเมื่ออายุผิวมากขึ้น คุณภาพผิวเราไม่ดีแล้ว การสร้างใหม่จึงไม่ดีด้วย ทำให้ผิวบางลง ยิ่งทำเลเซอร์บ่อย โดยไม่ได้ทำการฟื้นบำรุงผิวร่วมด้วย ผิวยิ่งบาง หน้ายิ่งแดงง่าย เห็นเส้นเลือดฝอยเล็กๆใต้ผิว แสบหน้า ผิวแพ้ง่าย และผิวหน้าดำคล้ำลงได้ง่าย แม้เวลาถูกแดดเพียงเล็กน้อยก็ตาม
2.กลุ่มการศัลยกรรมตัดพังผืด
3.กลุ่มเครื่องมือที่ใช้เข็ม (Skin needling)
เช่น Dermaroller, Dermapen, Derma stamp, Dermafix, เลเซอร์ Microneedle กลุ่มนี้ใช้หลักการทำให้ผิวเกิดการบาดเจ็บด้วยเข็มขนาดเล็ก เพื่อให้ร่างกายเกิดกระบวนการรักษาบาดแผลขึ้นมา จึงมีการสร้างคอลลาเจนใหม่ขึ้นมาซ่อมแซมผิวด้วย ในกลุ่มนี้ต้องระวังการทำลูกกลิ้ง Dermaroller ที่ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่าไม่ได้ช่วยให้หลุมสิวดีขึ้น แต่ยังทำให้เกิดบาดแผลที่ผิวชั้นบนมากยิ่งขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มาก
ประโยชน์ของ Microneedling?
กลุ่มเครื่องมือที่ใช้เข็มขนาดเล็ก microneedling สามารถช่วยแก้ไขหลุมสิวได้ในระดับตื้นถึงปานกลางเท่านั้น ข้อดีคือสามารถช่วยผลัดผิวชั้นบน ใช้ร่วมกับการผลักดันตัวยาหรือ ได้ดี และไม่ค่อยมีผลข้างเคียงเรื่องรอยดำหลังทำเลเซอร์ ไม่ต้องพักฟื้นผิวหน้าหลังทำ แต่อย่างไรก็ตามหากเทียบประสิทธิภาพในการกระตุ้นคอลลาเจน(เทียบเฉพาะเครื่องมือ ไม่รวมตัวยาที่ใช้) การทำ Fractional Laser ยังคงให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
4.กลุ่มสารเติมเต็มและยกกระชับ
-Kravvas G, Al-Niaimi F. A systematic review of treatments for acne scarring. Part 1: Non-energy-based techniques. Scars, Burns & Healing, Volume 3, 2017
-Kravvas G, Al-Niaimi F. A systematic review of treatments for acne scarring. Part 2: Energy-based techniques. Scars, Burns & Healing, Volume 4, 2018.
-Jordan R, Cummins CCL, Burls A, Seukeran DDC. Laser resurfacing for facial acne scars. Cochrane Database of Systematic Reviews 2000, Issue 3
-Bhargava, S., Cunha, P.R., Lee, J. et al. Acne Scarring Management: Systematic Review and Evaluation of the Evidence. Am J Clin Dermatol 19, 459–477 (2018)
-Review Article Acne Scars: Pathogenesis, Classification and Treatment
https://www.researchgate.net/publication/338749120_Improvement_of_Atrophic_Acne_Scar_and_Skin_Complexity_by_Combination_of_Aqueous_Human_Extract_and_Mesenchymal_Mesotherapy